แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน
ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
นางสาวรุ่งนภา รสภิรมย์
ตำแหน่ง ครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
เว็บไซต์สำหรับเก็บผลงานประเมิน PA
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 16 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์ดังนี้
รายวิชาวิทยาศาสตร์อัจฉริยภาพ ว23212 ม.3 จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
รายวิชาฟิสิกส์ ว30201 ม.4 จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
รายวิชาฟิสิกส์ ว30203 ม.4 จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
- กิจกรรมชุมนุม จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 16 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์ดังนี้
รายวิชาวิทยาศาสตร์อัจฉริยภาพ (ดาราศาสตร์) ว22211 ม.2 จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาศาสตร์อัจฉริยภาพ (ฟิสิกส์) ว23211 ม.3 จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
รายวิชาฟิสิกส์ ว30202 ม.5 จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
- กิจกรรมชุมนุม จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
ประเด็นท้าทายเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ร่วมกับชุดฝึกปฎิบัติการ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ข้าพเจ้าได้ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ พุทธศักราช 2564 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 จัดทำคำอธิบายรายวิชา วิเคราะห์ตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง (หรือวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในรายวิชาเพิ่มเติม) และดำเนินการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
มีการจัดทำรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ท้องถิ่น และเหมาะกับผู้เรียน
ข้าพเจ้าได้จัดทำ/ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และปรับประยุกต์/สอดแทรกเนื้อหา เหตุการณ์ตามบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน ท้องถิ่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
การประชุมกลุ่มสาระเพื่อปรับปรุงหลักสูตร
ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ active learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนเห็นภาพและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
ปีการศึกษา
2564
มีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
เรียนรู้และทำงานร่วมกันโดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน
ข้าพเจ้าได้สร้างสื่อ นวัตกรรมการเรียน มีการออกแบบสื่อการเรียนรู้ เช่น google site , power point มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือการวัดและประเมินผล
สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรม
การเรียนรู้ผู้เรียนมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสื่อ นวัตกรรม
สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และหรือผลการเรียนรู้
ข้าพเจ้าได้ทำการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงและเก็บผลการเรียนรู้ ก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีที่หลากหลาย ทั้งแบบสอบออนไลน์และออนไซต์ เช่น การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน, การนำเสนอผลการทดลองวิทยาศาสตร์ ชิ้นงาน และการทำแบบทดสอบในรูปแบบต่างๆ
ข้าพเจ้าได้มีการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ ร่วมกับเพื่อนครูในกลุ่มสาระในรูปแบบ PLC ในกลุ่มสาขาวิชนฟิสิกส์ การทำวิจัยในชั้นเรียน และจัดทำข้อตกลงการพัฒนางานโดยได้เสอนประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ร่วมกับชุดฝึกปฎิบัติการ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ
คุณภาพผู้เรียน
สอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณธรรม และจริยธรรม ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยคำนึงความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่ การโฮมรูมตอนเช้า การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในคาบสอน และการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
การจัดกิจกรรมโฮมรูมเช้าทุกวันและส่งเสริม
ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างหลากหลาย
มีการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ได้จัดทำข้อมูลในระบบสารสนเทศและเอกสารงานธูรการชั้นเรียนของผู้เรียนและรายวิชาต่างๆ ดังนี้ การกรอกคะแนนตลอดเทอมในโปรแกรม excel การทำเอกสารการเยี่ยมบ้าน SDQ เอกสารประกอบการสอน การสอบ การเช็คเวลาเรียนของนักเรียนในรายวิชาต่างๆ
มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา เพื่อใช้ในการ
ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลและประสาน
ความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน
ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
การปฎิบัติงานต่างๆ ในระหว่างดำรงตำแหน่งหัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2.4 ประสานความร่วมมือ
ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ
1) จัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้งเพื่อติดตามแก้ไขปัญหา
ช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2) มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกภาคเรียน เพื่อติดตามแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
3.1 พัฒนาตนเอง
อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ข้าพเจ้าได้มีการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาเทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้
click!! เกียรติบัตร
พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
การเข้าร่วมอบรมและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3.2 มีส่วนร่วมในการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ข้าพเจ้าได้มีการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ PLC ในรูปแบบของการนิเทศการจัดการเรียนการสอน โดยก่อนหลังการนิเทศได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ข้อดี และข้อที่ควรปรับปรุงต่อไป
นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
3.3 นำความรู้ความสามารถทักษะ
ที่ได้จากการพัฒนาตนเองฯ
ผลสะท้อนของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้
I Love Physics
ข้าพเจ้าได้นำความรู้ต่างๆ มาใช้ในการจัดทำ สื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงเกมส์ต่างๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์
แบบข้อตกลง (PA)
ประเด็นท้าทายเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ร่วมกับชุดฝึกปฎิบัติการ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนมักขาดทักษะการคำนวณ การคิดวิเคราะห์และมองไม่เห็นภาพลักษณะการเคลื่อนที่ที่ชัดเจน อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงและเปรียบเทียบการเคลื่อนที่แนวดิ่งกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได้ ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ร่วมกับชุดฝึกปฎิบัติการ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้อง 38 คน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E) ร่วมกับชุดฝึกปฎิบัติการ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 80 สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 80
เป้าหมายเชิงปริมาณ
เป้าหมายคุณภาพ
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ที่สูงขึ้น
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับ
- ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาฟิสิกส์ สามารถนำกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
กราบขอบพระคุณท่านคณะกรรมการเป็นอย่างสูง
นายกรวิทย์ เลิศศิริโชติ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
นางสาวรัตฎิญากรการวิบูลย์
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
นางพิมพ์นดา ตาทอง
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา